วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

การใช้งบประมาณของศูนย์ประจำตำบล

โรงเรียนที่เป็นศูนย์ดนตรี นาฏศิลป์ประจำตำบล จะได้รับจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น ประมาณ 50,000 บาท แยกเป็นดังนี้
1. เป็นค่าครุภัณฑ์ดนตรี 8,862 บาท
2. ค่าจ้างภูมิปัญญา 7,367 บาท
3. ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ 33,771 บาท
โรงเรียนหลายแห่งยังไม่ชัดเจนและได้เข้ามาสอบถามกับผมในการใช้งบประมาณโดยเฉพาะงบฯในข้อ 3
ผมได้โทร.สอบถามไปยัง เจ้าหน้าที่ที่ สพฐ.แล้ว ขอเรียนชี้แจงว่า
"งบฯนี้สามารถใช้เป็นค่าอาหารของนักเรียน/ครู ค่านำมันเชื้อเพลิง ที่ไปเล่นดนตรีตามงานต่าง ๆ หรือเป็นค่าวัสดุ เช่นเครื่องดนตรีเพิ่มเติม(ไม่เกินชิ้นละ 5 พันบาท) กล่าวโดยสรุปคืองบฯนี้ใช้ในกิจกรรมเพื่อการแสดงดนตรีเท่านั้นครับ"
ได้ยินทางการเงินแจ้งว่า "หากโรงเรียนใดต้องการซื้อวัสดุในยอดนี้ให้ส่งภายในวันที่ 25 มี.ค. นี้"
ดังนั้นหากโรงเรียนพิจารณาแล้วจำเป็นต้องซื้อวัสดุ ก็สามารถจัดซื้อได้และส่งเรื่องเบิกให้ทันตามกำหนด ส่วนที่เหลือก็กันไว้เป็นค่านำมันเชื้อเพลิงและค่าอาหารด้วยน่ะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินโครงการ

ในเบื้องต้นนี้วางแผนว่าจะอบรมปฏิบัติการให้กับครูผู้สอนทุกโรงเรียน เพื่อให้ความรู้ในเรื่องดังต่อไปนี้
1. การเล่นเครื่องดนตรีไทย(ขลุ่ย)
2. การเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมือง(1 ชิ้น)
3. การร้องเพลงไทยหรือเพลงพื้นบ้าน 3 เพลง
4. การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน 1 รายการ
โดยจะดำเนินการดังนี้
1. จัดอบรบให้กับวิทยาระดับเครือข่ายทุกเครือข่าย
2. เครือข่ายจัดอบรมขยายผลให้กับครูผู้สอนในเครือข่ายทุกโรงเพื่อนำไปสอนนักเรียน
3. โรงเรียนทุกโรงจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. คณะกรรมการระดับเครือข่ายออกประเมินนักเรียนทุกโรงในเครือข่าย
5. จัดประกวดการแสดงของนักเรียน
วิทยากรระดับเครือข่ายจะให้เครือข่ายเป็นผู้เสนอชื่อเข้ารับการอบรม(ดนตรี 3 คน นาฏศิลป์ 3 คน) หากมีพื้นความรู้ด้านนี้มาก่อนก็จะดีมาก คุณครูท่านใดสนใจจะเป็นวิทยากรระดับเครือข่าย ขอให้แจ้งประธานเครือข่ายได้เลยน่ะครับ
(ตอนนี้กำลังมองหาวิทยากรระดับเขตฯ โดยเฉพาะทางโซนสังขะ.....ใครมีข้อมูลครูที่มีผลงานด้านนี้ขอให้แจ้งชื่อในนี้พร้อมผลงานที่ผ่านมาได้ในบล็อกนี้ด่วนเลยน่ะครับ)

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

จุดประสงค์

จุดประสงค์ของBlogนี้
1. เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจกับโรงเรียนทุกโรงที่ดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมกิกจรรมดนตรี นาฏศิลป์ไทยและพื้นบ้าน ตามแผนปฏิบัตอิการไทยเข้มแข็ง 2552 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3
2. รับทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวการดำเนินงาน
3. ติดต่อสื่อสารกันระหว่างสถานศึกษากับผู้รับผิดชอบโครงการ(ระดับเขตพื้นที่)

จุดประสงค์ของโครงการ
ให้โรงเรียนทุกโรงใช้งบประมาณที่จัดสรรให้(ค่าครุภัณฑ์เครื่องดนตรี/ค่าจ้างภูมิปัญญาท้องถิ่น) จัดการเรียนการสอนให้ได้ผลผลิตดังนี้
1. มีวงดนตรีไทย และหรือ วงดนตรีพื้นบ้าน อย่างน้อย 1 วง
2. มีวงนาฏศิลป์ไทย และหรือ วงนาฏศิลป์พื้นบ้าน อย่างน้อย 1 วง
3. นักเรียนทุกคนสามารถเล่นเครื่องดนตรีไทย และหรือเครื่องดนตรีพื้นบ้านได้ อย่างน้อย 1 ชิ้น
4. นักเรียนทุกคนสามารถร้องเพลงไทย และหรือ เพลงพื้นบ้าน ได้อย่างน้อยคนละ 3 เพลง
5. นักเรียนทุกคนสามารถแสดงนาฏศิลป์ไทย และหรือนาฏศิลป์พื้นบ้าน ได้อย่างน้อย 1 ประเภท